ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Assignment

Assignment1 งานมอบหมายให้ทำ
1.Smartphone คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบอกมา5ประการ
2.Android คืออะไร ปกติจะพบเห็นสิ่งนี้ที่ไหน
3.Cyber bully  หมายถึงอะไร อธิบายมา1ย่หน้า ไม่ต่ำกว่า 10 บรรทัด
Assignment1

1.smartphone คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง  บอกมา 5 ประการ
smartphone คือ โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ ต่างๆได้  เสมือนยกเอาคุณสมบัติที่ PDA และคอมพิวเตอร์มาไว้ในโทรศัพท์ เช่น iOS (ที่ลงในมือถือรุ่น Iphone) ,BlackBerry OS, Android OSWindows phone 7 และ Symbian Os  (Nokia) เป็นต้น ซึ่งทำให้ สมาร์ทโฟน สามารถลงโปแกรมเพิ่มเติม (Application) ได้ แทบจะเรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ขนาดพบพามีระบบการเชื่อมต่อไร้สาย Bluetooth 3G WIFI มี Port Mini USB เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ รับ-ส่งข้อมูลต่าง ๆ ด้วยความเร็วสูงรอง รับระบบมัลติมีเดียต่าง ๆ ดูหนัง avi mp4 3gp ฟังเพลง mp3 acc wav และอื่น ๆ หลากหลายในปัจจุบันมีระบบ IOS Symbian Android Windows Phone และ Blackberry ที่โด่งดังได้รับความนิยมนอกจากจะเหมือนคอมพิวเตอร์ขนาดพบพาแล้ว ยังเหมือนมีกล้องพกพาอีกด้วย
ประโยชน์ของ smartphone
1.ผู้ใช้สามารถติดตั้งแอพที่ต้องการใช้งานไดอย่างหลากหลาย
2.ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อเครื่องข่ายไร้สายได้ทุกที่
3.ผู้ใช้สามารถรับส่งอีเมลได้อย่างสะดวกสบาย
4.ผู้ใช้สามารถสร้างงานเอกสารได้
5.ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ทได้อย่างง่ายดาย


Retrieved from http://www.mindphp.com/http://ice-sky.blogspot.com/2012/08/smartphone.html
http://pisutta.ning.com/group/ict_4_manager/forum/topics/4-smart-phone?xg_source=activity
2.android คืออะไร ปกติ จะพบสิ่งนี้ที่ไหน
แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ:Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้นแอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรีเวอร์ชันล่าสุดของแอนดรอยด์คือ 4.2 (JellyBean) ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 4.2 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Photo Sphere ที่สามารถถ่ายรูปได้ 360 องศา และ Keyboard Gestures ที่สามารถลากนิ้วแทนการสัมผัสตัวอักษรได้android เป็นสิ่งที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือหลายยี่ห้อ มันมีหน้าที่เป็นชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของ hardwareชิ้นต่างๆของโทรศัพท์เครื่องๆนั้น ไมว่าจะเป็น หน้าจอ กล้อง แป้นกด ลำโพง ไมค์ และอื่นๆทั้งหมด โดยมันยังทำหน้าตาออกมา ให้ติดต่อกับเจ้าของโทรศัพท์ได้ง่ายๆด้วย เช่นแสดงผลหน้าจอ ปุ่มกดเบอร์โทรศัพท์
Retrieved from http://th.wikipedia.org/wiki/

3.Cyber Bully หมายถึงอะไร อธิบายมา 1 ย่อหน้า ไม่ต่ำกว่า 10 บรรทัด
Cyberbullying คือ การรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ระหว่างเด็กกระทำต่อเด็กด้วยกัน โดยรูปแบบการรังแกกันมีทั้งการใส่ร้ายป้ายสี การใช้ถ้อยคำหยาบคายต่อว่าผู้อื่น หรือการส่งต่อข้อมูลลับเพื่อทำให้ผู้อื่นเสียหายผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือแม้แต่การส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยการรังแกกันจะต้องมีความต่อเนื่อง และทำให้ฝ่ายที่ถูกกระทำรู้สึกเจ็บปวดหรือได้รับผลกระทบทางจิตใจCyberbullying เป็นความรุนแรงที่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ ซึ่งสามารถทำความรุนแรงกับใคร ที่ไหน หรือเมื่อไรก็ได้ และผู้กระทำก็สามารถจะตอกย้ำความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยที่สักวันหนึ่งเหยื่อที่เคยถูกกระทำ ก็อาจกลับมาเป็นผู้กระทำความรุนแรงเองเพื่อแก้แค้น เป็นวงจรความรุนแรงที่ไม่มีจุดจบ ด้วยเห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆ เขาก็ทำกัน ซึ่งผลกระทบก็คือความรุนแรงและบาดแผลที่เกาะกินในจิตใจของเด็กๆนอกจากนั้นนักเลงไซเบอร์อาจจะส่งข้อความให้ร้ายไปยังผู้อื่น หรือเขียนคอมเมนต์ในเว็บไซต์หรือบล็อกที่เป็นการต่อว่า การประทุษร้ายซ้ำๆ หลายครั้งแม้จะดูเป็นบาดแผลที่ห่างไกลหัวใจจนไม่น่าใส่ใจสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กหรือวัยรุ่นถือเป็นการทำร้ายที่รุนแรงมาก ส่งผลให้รู้สึกซึมเศร้า, หงุดหงิดอาละวาด, และทำร้ายตัวเองจากอารมณ์หุนหันพลันแล่นได้จากการสำรวจเด็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า มีเด็กถึง 48% ที่อยู่ในวงจร Cyberbullying โดยอาจเป็นทั้งผู้กระทำ เหยื่อ และผู้เฝ้าดูหรือส่งต่อข้อมูลไปยังกลุ่มอื่นๆ ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ที่อยู่ในวงจรนี้จะอยู่ในชั้นมัธยมต้น โดยเวลาที่ใช้ในการ Cyberbullying คือ ช่วง 6 โมงเย็น – 3 ทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กๆ ทำการบ้านและใช้อินเตอร์เน็ต
Retrieved from  http://healthkm.exteen.com/20101006/cyberbullying
http://www.healthygamer.net/information/article/9874

Assignment2

การผลิตนำตาลทรายจัดว่าเป็นSystem หรือไม่ ถ้าเป็นระบบอะไรคือ I อะไรคือ P อะไรคือ O
การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็นSystem
I
การเตรียมดิน และปลูกอ้อย
ดูแลรักษาอ้อย บำรุงดินและการใส่ปุ๋ย ให้น้ำบ่อยครั้ง
เมื่ออ้อยโตเต็มที่แล้วได้เวลาที่จะตัดไปส่งโรงงาน
นำอ้อยที่ได้ขนส่งไปที่โรงงานเพื่อทำกระบวนการต่อไป
P
1. กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction)
ช่วงนี้จะเป็นการสกัดเอาน้ำอ้อย ซึ่งเป็นส่วนของเหลวที่มีซูโครสละลายน้ำอยู่ โดยอาจจะมีการลดขนาดของอ้อยลงก่อนด้วยชุดใบมีด เพื่อที่จะได้บีบเอาน้ำออกมาได้มากขึ้น ในการสกัดน้ำอ้อย จะผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ หรือ Crusher ( 4 – 5 ชุด ) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิตและน้ำตาลทราย
2. การทำความสะอาดหรือทำใสน้ำอ้อย (Juice Purification)น้ำอ้อยที่ผลิตได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่างๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เพื่อแยกสารแขวนลอยออกไป เช่น ผ่านเครื่องกรองต่างๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อนและผสมปูนขาว น้ำอ้อยบางส่วนที่นอนก้นในหม้อก็จะถูกรีดน้ำต่อไป จนได้สารละลายที่มีความเข้มข้นราวๆ 12-16% ก่อนการผ้อนเข้าสู่ระบบระเหยน้ำในขั้นตอนต่อไป
3. การระเหย (Evaporation)
น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporation) เพื่อระเหยเอาน้ำออก จนได้น้ำอ้อยที่มีความเข้มข้นประมาณ 65% อุณหภูมิของหม้อระเหยแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับค่าความดันภายในที่ทำการควบคุมไว้ ในที่สุดจะได้น้ำอ้อยเข้มข้นที่ออกมาจากเครื่องระเหย เรียกว่า Syrup
4. ขั้นตอนการตกผลึกครั้งที่หนึ่งการเคี่ยว(Crystallization)

Syrup ที่ได้จากการระเหยจะถูกป้อนเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ(Vacuum Pan) เพื่อทำการตกผลึก ซึงการตกผลึกในขั้นตอนนี้อาศัยหลักการทำให้ตัวถูกละลาย ละลายได้น้อยลง เพราะตัวทำละลายคือน้ำเดือดภายใต้สภาวะสูญญากาศนั่นเอง แล้วในที่สุดทำให้ตัวถูกละลายคือผลึกซูโครสที่อยู่ในสภาพอิ่มตัวยิ่งยวด ที่จุดนี้ผลึกซูโครสจะเกิดขึ้นมาร่วมกับมาสสิคิวท์ (Massecuite)
5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling)
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals)แล้วเข้าระบบเป่าเพื่อไล่ความชื้นออก ในที่สุดเราจะได้ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลดิบ (Raw Sugar) ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ยังไม่ได้ผ่านการฟอกสี สามารถบรรจุขายได้ทันทีเหมือนกันครับ หรือนำไปฟอกสีออกในขั้นตอนต่อไปทัศนคติของผู้บริโภคทั่วไปนั้น น้ำตาลทรายที่ดี จะต้องมีผลึกใสไม่มีสี ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นการนำน้ำตาลทรายดิบไปฟอกสีออกจึงต้องมีกระบวน กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์ แล้วน้ำตาลทรายดิบที่ผลิตจากกระบวนการข้างต้นจะถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเพิ่มไปอีกราวๆ 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
6. การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling)
นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) จะได้สารละลายน้ำตาลดิบที่ผสมซึ่งเรียกว่า แมกม่า (Magma)และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลืองหรือกากน้ำตาลออก
7. การทำความสะอาดและฟอกสี (Clarification)
น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup)จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการ ปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก(ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก)จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter)เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกสีเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยน ประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้น้ำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
8. การเคี่ยว (Crystallization)
น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว หากถ้าเราต้องการผลิตน้ำตาลกรวดที่มีราคาแพงก็สามารถทำในขั้นตอนนี้ได้ครับ โดยที่เทคนิคก็คือ เราจะต้องปล่อยให้การตกผลึกนั้นเกิดขึ้นอย่างช้าๆ (2-3วัน) จึงไม่ต้องแปลกใจครับว่าทำไมน้ำตาลกรวดถึงได้แพงซะเหลือเกิน การตกผลึกช้าๆนั้นจะทำให้ได้สารละลายที่มีโครงผลึกแน่นขึ้น เนื้อสัมผัสถึงได้แตกต่างไปจากน้ำตาลทรายปกตินั่นเองครับ

9. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling)
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals)ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาว
O
10. การอบ (Drying)
ผลึกน้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ( Dryer ) เพื่อไล่ความชื้นออก โดยความชื้นสุดท้ายจะเหลือไม่ถึง 1% แล้วบรรจุกระสอบ หรือแพคใส่ถุงใสเพื่อจำหน่ายต่อไป
http://yada-fairytale.blogspot.com/2011/01/blog-post_3507.html
http://www.easternsugar.co.th/index.php/cane/2009-12-22-04-25-08.html
เฉลยการบ้านครั้งที่ 2
   Input                                       Process                                               Output
 1.โรงงานน้ำตาล                      1.การสกัดน้ำอ้อย                                1.น้ำตาลทราย

             2.เครื่องจักร                             2.การทำความสะอาดน้ำอ้อย               2.กากน้ำตาล

             3.วัตถุดิบ                                  3.การต้มให้ได้น้ำเชื่อม

             4.แรงงาน                                 4.การเคี่ยวให้เป็นผลึกและกาก

             5.เงินทุน                                   5.การปั่นแยกผลึกน้ำตาล

                                                              6.การอบ

                                                              7.การบรรจุถุง

e:14.0ph � n - ��Y xdY 5%;font-family: "Angsana New","serif";mso-ascii-theme-font:major-bidi;mso-hansi-theme-font: major-bidi;mso-bidi-theme-font:major-bidi'> 

Assignment3

ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาอะไรก็ได้ในสาขาสังคมศึกษามา1ระบบ
อธิบายรายละเอียดโดยใช้หลัก IPO มาพอสังเขป
ระบบการสอน รายวิชาอาเซียนระดับ ป.6
Input
1.แผนการสอน เช่น มีการเตรียมแผนการสอนของรายวิชาอาเซียน
 2.วัตถุประสงค์ของการสอน เช่น  สอนตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
3.เนื้อหา เช่น เนื้อหาต้องครบถ้วนสมบูณ์ สอนตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง
4.สื่อการสอนเช่น  น่าสนใจ เหมาะกับวัยของนักศึกษา หรือ นักเรียน

Process

-วิธีการสอน
-การใช้สื่อรูปแบบต่างๆ
-ให้ดูVideoเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอาเซียน
-หนังสือเรียนอาเซียน ป.6
- -แห่ลงการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด ห้องเทคโนโลยีสารสนเทศ

Output

1.ความรู้ เช่น มีความรู้ความเกี่ยวกับอาเซียน
2.ทักษะ เช่นสามารถแก้ปัญหา เฉพาะหน้าได้   มีทักษะในการเรียน
3.คำถาม เช่น  สามารถตั้งคำถามเป็น และสามรถตอบคำถามได้                                                                     
4.แบบทดสอบ เช่น ทำแบบทดสอบของรายวิชาอาเซียนได้ผ่านเกณฑ์                                                         

 5.ทัศนคติ เช่น  มีทัศนคติที่ดีต่อครู นักเรียน  บุคคลทั่วไป   

  Assignment4

ให้นักศึกษาไปค้นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้ในงานด้านต่างๆมาคนละ 3โปรแกรมต่างงานกัน ยกตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย แสดงภาพตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย


ซอฟต์แวร์ประมวลคำ
ซอฟต์แวร์ประมวลคำเป็น ซอฟต์แวร์ในการนำตัวอักษรมาเรียงต่อเป็นคำ ประโยคหรือย่อหน้า คล้ายการใช้เครื่องพิมพ์ดีดพิมพ์ข้อความบนกระดาษ แต่ต่างกันที่ตัวอักษรที่พิมพ์หรือป้อนเข้าทางแผงแป้นอักขระจะเข้าไปเก็บ อยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถแก้ไขดัดแปลงได้ง่าย        ภายใต้ข้อกำหนดของซอฟต์แวร์ผู้ใช้สามารถกำหนดปรับแต่งรูปแบบได้ตามต้องการ เช่น การกำหนดเส้นกั้นหน้าและกั้นหลัง กั้นบนและกั้นล่าง เมื่อมีการแก้ไขจนเป็นที่พอใจแล้ว สามารถสั่งพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์ได้หลายชุดตามที่ต้องการ เอกสารที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ จะมีคุณภาพดีไม่มีรอยเปื้อนจากการแก้ไขดัดแปลง
ซอฟต์แวร์ประมวลคำ มีคุณสมบัติเด่นกว่าการเตรียมเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ดีดหลายประการ 



 ซอฟต์แวร์ตาตารางทำงานการวิเคราะห์และคำนวณตัวเลขของผู้ใช้ ด้วยการสร้างเป็นรูปแบบจำลองในลักษณะของสูตรคำนวณและสมการทางคณิตศาสตร์ มักมีการขีดเขียน คำนวณ และจดบันทึกลงในกระดาษ โดยมีเครื่องคิดเลขเป็นเครื่องมือช่วยในการคำนวณ การคำนวณตามงานที่ออกแบบหรือการค้นหาคำตอบของรูปแบบจำลองสมการที่สร้างขึ้นนับเป็นงานที่น่าเบื่อและต้องใช้ความอดทนมากพอสมควรเพราะผู้ใช้จะต้องทำการคำนวณใหม่ ซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายๆ ครั้งตามการแปรเปลี่ยนอย่างไม่หยุดนิ่งขององค์ประกอบหรือปัจจัยสำคัญของงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากงานนั้นเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินด้วยแล้ว การคำนวณต่างๆ ก็ต้องยิ่งระมัดระวังให้มีการตรวจทานเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและแม่นยำซอฟต์แวร์สำเร็จตารางทำงาน หรือกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องมือช่วยเพื่อการวิเคราะห์และคำนวณตัวเลขให้กับผู้ใช้ได้อย่างดี เพราะการใช้งานซอฟต์แวร์นี้ จะเปรียบเหมือนกับการนั่งทำงานอยู่บนโต๊ะทำงาน ที่มีกระดาษแผ่นใหญ่ๆ ประกอบด้วยตารางสี่เหลี่ยมของช่องตามแนวแถวและสดมภ์จำนวนมากมายปรากฏบนจอภาพ โดยแต่ละช่องบนตารางทำงานภายในซอฟต์แวร์ตารางทำงานจะมีฟังก์ชันต่างๆ จัดมาให้เลือกใช้เรียบร้อยแล้ว เช่น ฟังก์ชันการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันการคำนวณทางสถิติ ฯลฯ


 ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิก
ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิกเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เหมือนกระดานหรือสมุดวาดเขียนที่ผู้ใช้สามารถสร้างภาพเขียนได้ และมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการวาดรูป เช่น ปากกาช่วยวาดลายเส้น พู่กันระบายสี และยางลบช่วยลบลายเส้นหรือสีที่ไม่ต้องการได้นอกจากนี้สามารถนำแฟ้มข้อมูลที่เป็นรูปภาพที่ถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายรูปดิจิตอลมาแก้ไขตกแต่งได้ โดยซอฟต์แวร์จะมีเครื่องมือที่สามารถปรับเปลี่ยนความเข้มของแสง ปรับเปลี่ยนความแตกต่างของสีวัตถุในภาพ และสามารถตัดแปะองค์ประกอบของภาพหลาย ๆ ภาพ มาสร้างเป็นภาพใหม่ได้เหมือนการสร้างศิลปะ นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนลักษณะของภาพ ลักษณะของสีให้มีพื้นสีแบบต่าง ๆ ได้ ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิกที่เป็นที่นิยม เช่น โปรแกรมโฟโทชอพ (PhotoShop) โปรแกรมเพนท์บรัช (Paint Brush) โปรแกรมเพนท์ชอพ (Paint Shop)
ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิกบางโปรแกรม   สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์นำเข้าสแกนเนอร์   เพื่อจัดการนำเข้าข้อมูล  โดยแปลงข้อมูลรูปภาพให้เป็นข้อมูลแบบดิจิตอล และจัดเก็บข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูลเพื่อนำมาแก้ไขต่อไป



Assignment5
1ให้นักศึกษา ศึกษา Gadget ต่างๆเพื่อหาคำตอบว่าการใช้งานในgadgetนั้นๆสามารถทำอะไรได้บ้างและอย่างไร
2ให้นักศึกษาสร้างGadgetเพิ่ม1อย่างจากที่ได้ศึกษาจากข้อ 1

3นำเสนองานในชั้นเรียนคราวหน้า เพื่อให้เพื่อนๆได้เรียนรู้ร่วมกัน


1 .เข้าไปที่รูปแบบแล้วเลือก Gadget ตรงไหนก็ได้ที่ต้องการมา 1 ที่

2. เลือกหัวข้อที่ว่า  HTML/จาวาสคริปต์

3 .กดตั้งค่าและบันทึก


4 .ดูความสำเร็จจากบล๊อกของเรา
Assignment6
ให้นักศึกษาตอบคำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ทั้งหมดขอองหน่วยการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

                                                                           คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่1
1.จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ
  ตอบ  เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆเทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
ตอบ      สารสนเทศ หมายถึงคุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาด ปริมาณและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ ความหมาย ความรู้ คำสั่ง การสื่อสาร การแสดงออก และการกระตุ้นภายใน การส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกัน

2.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร

ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่มีการนำคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
  ตอบ   การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
          องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
            1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
            2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
            3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
            4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
            5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร
 ตอบ       เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดจากการรวมตัวของเทคโนโลยีใดบ้าง
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)
ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
 อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)
 อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล
 หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล
 หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล
 หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต
ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
 ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ
 1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น UNIX, DOS, Microsoft Windows
 2. โปรแกรมอรรถประโยชน์ ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor)
 3. โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ และทำงานตามที่ ผู้ใช้ต้องการ
 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
 1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไปไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management เป็นต้น
 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้
 3. ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่น ๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่าง ๆ เป็นต้น
การสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร
การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต  มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา  การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์  การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก   การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร  การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น   การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง   ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ  สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน       
4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่ออย่างไร
 ตอบ  ประวัติความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการจากการรวมกันของเทคโนโลยี 2 ด้าน คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีโทรคมนาคม เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ แซมวล มอร์ส(Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายเป็นระยะทาง ไกลๆได้ โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น…  การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้ง แรก เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่อง มือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ ลูกคิด” (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว  ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีมีการแพร่หลายในโลกทุกมุมทุกสาขาสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างกว้างขวาง ปัจจุบันนี้ต้องพึ่งอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต GSP ดาวเทียม เทคโนโลยีจึงเข้ามามีความสำคัญและเจริญรุกหน้าไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

5.ระบบปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence:AI)หมายถึงและมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร
ตอบ  ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีพฤติกรรมเหมือนคน โดยเฉพาะความสามารถในการเรียนรู้และความสามารถทางประสาทสัมผัสซึ่งเลียนแบบการเรียนรู้และการตัดสินใจของ                                                                                                                                
2) Neural Networks เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถกระทำ หรือจำลอง การทำงานของสมองมนุษย์ได้                        
3) Genetic Algorithms ปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยในการสร้างทางเลือก จำนวนมากในการแก้ปัญหา รวมทั้งทางเลือกที่ดีที่สุด                                                                                                                                                               
4) การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) เป็นการประมวลผลที่ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและโต้ตอบกับคำสั่ง หรือข้อความที่เป็นภาษา ธรรมชาติ” ของมนุษย์ได้                                                                                           5) ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems) เป็นระบบที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยสามารถโต้ตอบ หรือมีปฏิกิริยากับสถานการณ์แวดล้อมได้                                                                                                                              6) ระบบการมองเห็น (Vision Systems) ระบบที่คอมพิวเตอร์สามารถบันทึกเก็บรักษาและจัดการกับภาษาที่มองเห็น หรือรูปภาพได้ เป็นการนำระบบนี้มาใช้ในการวิเคราะห์รอยนิ้วมือ                                                                       
7) หุ่นยนต์ (Robotic) การพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรกล ให้ทำงานซึ่งมีลักษณะที่ต้องการความแม่นยำสูง หรือเป็นงานที่น่าเบื่อ หรือทำให้เกิด ความเมื่อยล้าแก่มนุษย์




6.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
     ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-    เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน


-    เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย


-    เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ


-    เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ


ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


ความเร็ว  การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จะช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การค้นหาข้อมูลจะทำได้สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล เช่น การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ


ความถูกต้อง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการประมวลนั้นมีความผิดพลาดน้อยกว่าการประมวลผลด้วย มนุษย์


การเก็บบันทึกข้อมูล ข้อมูลที่เก็บบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลทำให้มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลได้ จำนวนมากและมีความคงทนถาวรมากกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปของกระดาษ


การเผยแพร่ข้อมูล การรับส่งข้อมูลในปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้การเผยแพร่ข้อมูล ทำได้อย่างกว้างขวางสามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน


7.สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร


1. มีความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) สารสนเทศที่ดีจะต้องตรงกับความเป็นจริงและเชื่อถือได้ สารสนเทศบางอย่างมีความสำคัญ หากไม่ตรงกับความเป็นจริงแล้ว อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ สารสนเทศที่ถูกต้องแม่นยำจะต้องเกิดจากการป้อนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมที่ประมวลผลจะต้องถูกต้อง      


2. ทันต่อเวลา (timeliness) สารสนเทศที่ดีต้องทันต่อการใช้งาน หมายถึง ข้อมูลที่ป้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีความเป็นปัจจุบันทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ตัวอย่างเช่น ข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครองนักเรียน จะต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัย หากหมายเลขโทรศัพท์ล้าสมัยก็จะไม่สามารถติดต่อกับผู้ปกครองได้หากเกิดกรณีฉุกเฉิน                                                


3. มีความสมบูรณ์ครอบถ้วน (complete) สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความครบถ้วน สารสนเทศที่มีความครบถ้วนเกิดจากการเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน หากเก็บข้อมูลเพียงบางส่วนก็จะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้เต็มประสิทธิภาพ ตัวอย่าง เช่น ข้อมูลนักเรียน ก็จะต้องมีการเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับนักเรียนให้ได้มากที่สุด เช่น ชื่อ อายุ ที่อยู่ ชื่อผู้ปกครอง หมายเลขโทรศัพท์ โรคประจำตัว คะแนนที่ได้รับในแต่ละวิชา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ครูสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ หากไม่มีข้อมูลของหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็จะไม่สามารถติดต่อกับผู้ปกครองได้เช่นเดียวกัน               


4. มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (relevancy) สารสนเทศจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผุ้ใช้ กล่าวคือ การเก็บข้อมูลต้องมีการสอบถามการใช้งานของผู้ใช้ว่าต้องการในเรื่องใดบ้าง จึงจะสามารถสรุปสารสนเทศได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น หากต้องการเก็บข้อมูลของนักเรียนก็ต้องถามครูว่าต้องการเก็บข้อมูลใดบ้าง เพื่อให้ครูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง                                                                                                                                                            


5. สามารถพิสูจน์ได้ (verifiable) สารสนเทศที่ดีจะต้องตรวจสอบแหล่งที่มาได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศได้




8.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน


ใน สังคมปัจจุบันไม่ว่าใครจะอยู่ที่ใด แม้ในเมืองหรือชนบทก็ตาม  ย่อมมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลหรือสังคมอื่นอยู่เสมอไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นหรือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำ วันด้วยสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง   วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร ล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีเครื่องมือหรือกลไกเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM : Automatic Teller/Technology Machine) การสแกนลายนิ้วมือการเข้าปฏิบัติงานในสำนักงาน การจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นต้น  เหล่านี้เป็นตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน ยิ่งไปกว่านั้น ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการใหม่ ๆ ก่อให้เกิด เครื่องมือหรือวิธีการในการอำนวยความสะดวกในการใช้บริการอย่างรวดเร็ว เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน สามารถให้บริการโดยเชื่อมต่อ ระบบออนไลน์ (online system) ซึ่งเป็นระบบสายตรงที่มีประโยชน์มาก และเป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็น กรณีตัวอย่าง เช่น การรับบริการรักษาพยาบาลตามโรงพยาบาล ปัจจุบันใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาบริหารจัดการ โดยผู้ป่วยสามารถบอกชื่อนามสกุลที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ก็สามารถเรียกเวชระเบียนออกมาได้อย่างรวดเร็ว เพราะโรงพยาบาลมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึง ทำให้เวชระเบียนที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ถูกส่งจาก คอมพิวเตอร์แม่ข่ายไปปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ในห้องตรวจของแพทย์ได้ทันที เมื่อแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยโรค สามารถสั่งการรักษาหรือสั่งยา จากห้องแพทย์ไปสู่แผนกเอ็กซเรย์ แผนกจ่ายยา ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ




9.จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน


กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้ความ เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน  การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น  มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ  เช่น       การสื่อสาร  การธนาคาร   การบิน  วิศวกรรม สถาปัตยกรรม  การแพทย์ การศึกษาหรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว  การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลกได้ทันเหตุการณ์  สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถาน ที่  เช่น  การถ่ายทอดสด  การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ รายการแข่งขันกีฬา การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่าง ๆ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน  สร้างภาพกราฟิก  เก็บข้อมูล  สืบค้นข้อมูล  ฟังเพลง  รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน  จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งาน คอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน  ช่วยส่งเสริมทักษะและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆกัน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะอาศัยองค์ประกอบต่าง  ๆ มากมาย




10.จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม


ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ                                                                                                                                                       ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ


การ พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์


การ พัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษาพูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง


การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้


การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library)


การ พัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ


การ บริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen


โทษของเทคโนโลยีสารสนเทศแนวโน้มในด้านลบ


ความ ผิดพลาดในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา


การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ


การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์


วิทยาการก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร เป็นปัจจัยผลักดันที่ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างพลโลก อย่างไร้พรหมแดน (Globalization) อย่างรวดเร็วนำไปสู่การผสมผสานความคิด ค่านิยม ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ระหว่างมวลมนุษย์ชาติ ที่เรียกว่า กระแสโลกาภิวัฒน์” เทคโนโลยีต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ เกิดการแข่งขันในด้านข้อมูลข่าวสาร ด้วยการนำเอาความรู้และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพื่อมุ่ง เป้าหมายความเป็นเศรษฐกิจและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge-based Economy/Society)


               ประเทศไทยในฐานะที่อยู่ร่วมในสังคมโลก  ทำให้ได้รับผลกระทบจากกระแสของโลกาภิวัฒน์ที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว   จึงได้กำหนดแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสำคัญไว้  5  กลุ่ม  คือ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ  (e-Government)  เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์  (e-Commerce) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม  (e-Industry)  เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา  (e-Education)  และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม  (e-Society)


   การศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคน  เป็นสิ่งที่สังคมคาดหวังว่าจะเป็นเครื่องเตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัฒน์  จึงเป็นการเตรียมกำลังคนที่มีความฉลาดในการที่จะเป็นบุคลากร นักคิดและนักเลือกข่าวสารข้อมูลมาใช้ในการดำเนินชีวิต  การวางแผนเพื่อพัฒนาการศึกษา  จึงต้องเน้น  การวางแผนในเชิงรุก  โดยวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มของกระแสโลกที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย และวิเคราะห์สถานการณ์การพัฒนาประเทศไทยโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อหาทิศทางการพัฒนา “ คุณภาพคนไทย” อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้รู้ทันโลก  คนมีความสุข  ครอบครัวและชุมชนมีสันติสุข



1.คำว่าระบบและวิธีการเชิงระบบ  หมายถึงอะไร


ระบบ หมายถึง การนำปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ คน  (People) ทรัพยากร (Resource) แนวคิด (Concept) และกระบวนการ (Process) มาผสมผสานการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้วางแผนไว้ โดยภายในระบบอาจประกอบไปด้วยระบบย่อย (Subsystem) ต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน




วิธีการเชิงระบบ (Systems Approach) เป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดให้ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานนั้น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ถ้าระบบการทำงานใด ๆ มีผลผลิตหรือผลที่ได้รับ (output) ทั้งคุณภาพและปริมาณมากกว่าทรัพยากร หรือข้อมูล (input) ที่ใช้ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้ามถ้าหาระบบการทำงานใด มีผลผลิต หรือผลที่ได้รับต่ำกว่าทรัพยากรที่ใช้ไป ก็ถือว่าระบบนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพ (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. 2528)




2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร


วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ ประการ คือ


1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input )


2. กระบวนการ ( Process)


3. ผลผลิต ( Output )


4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)


    องค์ประกอบทั้ง ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ




3.ระบบสารสนเทศหมายถึง อะไร


ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์2541)




4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร


การจำแนกองค์ประกอบ  ระบบสารสนเทศมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับเกณฑ์หรือวัตถุประสงค์ของแต่ละงาน  องค์ประกอบหลักของระบบสานสนเทศ  มีองค์ประกอบหลัก   2  ส่วน  ได้แก่


ระบบการคิด  และระบบของเครื่องมือ


ระบบการคิด  หมายถึง  กระบวนการและขั้นตอนในการจัดลำดับ  จำแนก  แจกแจง และจัดหมวดหมู่ข้อมูลต่างๆ  เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและเผยแพร่  ระบบการคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้น  ที่สำคัญของงานสารสนเทศทั้งระดับพื้นฐานและระดับสูงที่มีความสลับซับซ้อนจนต้องใช้ทักษะการจัดการและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง เข้ามาใช้ในการดำเนินงาน


ระบบเครื่องมือ  หมายถึง  วัสดุอุปกรณ์  หรือเครื่องมือ  ที่นำมาใช้ในการรวบรวม   จัดเก็บ และเผยแพร่  สารสนเทศให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์  และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเครื่องมือในการจัดการสารสนเทศที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในองค์กร  หน่วยงาน หรืองานธุรกรรมต่างๆ  แทบทุกวงการ  จนทำให้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกลายเป็นสัญลักษณ์ของสารสนเทศ




5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร


องค์ประกอบของสารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย


 ในการแก้ปัญหา มี 4 ประการ ได้แก่  


  - ข้อมูล  (Data)


    - สารสนเทศ  (Information)


   - ความรู้  (Knowledge)


  - ปัญญา  (Wisdom)  ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน


องค์ประกอบของสารสนเทศด้านขั้นตอน ในการดำเนินงานมี  3  ประการ


คือ  ข้อมูลนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Output) การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามาสู่การคำนวณประมวลผลหรือการกลั่นกรองจนได้ชิ้นงานหรือผลลัพธ์ (output) และจัดเก็บเพื่อนำออกมาเผยแพร่ในลักษณะของ


องค์ประกอบของสารสนเทศในหน่วยงาน ได้แก่ บุคคลหรือองค์กร เทคโนโลยี ข้อมูล และระบบสารสนเทศ


องค์ประกอบระบบสารสนเทศทั่วไป   (Information  Process  Systems)  ประกอบด้วย องค์ประกอบดังนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล (hardware)  ข้อมูล(data) สารสนเทศ (information)โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ (software) บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ (people ware)
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่2
1.คำว่า  "ระบบ " และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
ตอบ   ระบบ ( System) หมายถึง การทำงานของระบบย่อยๆ อย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่ สมบูรณ์ของแต่ละงาน สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอนระบบจึงเป็นหัวใจสำคัญของงาน หรือการดำเนินงานทุกประเภท
วิธีการเชิงระบบ (System Approach) วิธีเชิงระบบหรือวิธีระบบคือคำๆเดียวกัน เป็นกระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้าน ต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน
2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
ตอบ   ปัจจัยนำเข้า (Input)  กระบวนการ ( Process) ผลลัพธ์ (Output)
3.ระบบสารสนเทศ หมายถึงอะไร
ตอบ  การ ประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลในรูป ของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุดและเป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนการ บริหารและการตัดสินใจ ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล
4.องค์ประกอบหลักของสารสนเทศ ได้แก่อะไร
ตอบ  ระบบการคิด และระบบของเครื่องมือ
5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร
ตอบ   สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ประกอบด้วย ข้อมูล (Data) สารสนเทศ(Information)ความรู้(Knowledge) ปัญญา (Wisdom)
ด้านขั้นตอน ประกอบด้วย ข้อมูลนำเข้า(Input) กระบวนการ(Process) และผลลัพธ์(Output)
สารสนเทศ ทั่วไป คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล (Hardware) ข้อมูล (Data) สารสนเทศ(Information) โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์(Software)บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์(Peopleware)
6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
ตอบ  มี4ขั้นตอน   ขั้นที่1การวิเคราะห์ระบบ แบ่งเป็น 4 หน่วยย่อย คือ
วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน  2.วิเคราห์หน้าที่  3.วิเคราะห์งาน 4.วิเคราะห์วิธีการและสื่อ
ขั้นที่2การสังเคราะห์ระบบ 
1.  การเลือกวิธีการหรือกลวิธี เพื่อหาช่องทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบและทดลองกลวิธีเพื่อปรับปรุงให้ เหมาะสมกับสารสนเทศที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้
2.ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยเลือกกลวิธีที่เหมาะสม
3.ประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ขั้นที่3 การสร้างแบบจำลอง
7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ต่างกันตรงหน้าที่การทำงาน ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่รับผิดชอบ     ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วม กันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม    ระบบสารสนเทศระดับองค์กร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก
8.ข้อมูลและความรู้ คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
ตอบ ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส ทั้งห้าทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ความรู้ เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภาย นอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหากระบวนการ และขั้นตอน อาจอยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศระดับต่างๆหรืออาจอยู่ในรูปของ อารมณ์ความรู้สึกและเหตุผล
มี ความสำคัญกับสารสนเทศ นำข้อมูลที่ถูกกลั่นกรองด้วยวิธีต่างๆอาจอยู่ในรูปของภาพ แสง สี เสียง รูปทรง ตัวเลข สามารถนำไปใช้ได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็วและคุณค่าของสารสนเทศจะนำไปสู่ ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อไป
9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล   1.การรวบรวมข้อมูล  2.การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล  3.การจัดการข้อมูล  4.การควบคุมข้อมูล 5.การสร้างสารสนเทศ
วิธีการเก็บข้อมูล    1.การสำรวจด้วยแบบสอบถาม 2.การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง  3. การนับจำนวนหรือวัดขนาดของตนเอง
10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่งที่ออมพิวเตอร์ใช้งานแตกต่างกัน
ตอบ แลน คือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ จำกัดเขตเฉพาะภายในบริเวณอาคารหรือกลุ่มอาคารที่อยู่ใกล้กัน เนื่องจากข้อจำกัดของตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูล เช่นภายในรั้วโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
แวน คือ เครือข่ายบริเวณกว้าง ระยะทางมากกว่า10กิโลเมตรขึ้นไปจนมากกว่าหลายพันกิโลเมตร ปกติเชื่อมโยงด้วยระบบสื่อสารสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ เครือข่ายเส้นใยแก้วนำแสง
อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือข่ายแวนจำนวนมากซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลก
คำถามหน่วยการเรียนที่ 3
1. คอมพิวเตอร์หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่างๆสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบมี ประโยชน์คือมีความเร็วในการทำงานสูง มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสัปดาห์หรือเป็นปีมีความถูกต้องแม่นยำสูง
2. คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร
ตอบ  อุปกรณ์ชิ้นแรกซึ่งเป็นที่มาของคอมพิวเตอร์เริ่มจากการคิดค้นของชาวจีนใน ช่วงปี พ.ศ. 500 มีการประดิษฐ์ลูกคิด ต่อมาในปีพ.ศ. 2185 แบลส์  พาสคัล ได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลข ปีพ.ศ. 2376 ชาร์ล  แบบเบ็จ สร้างเครื่องคำนวณที่ทำงานโดยอาศัยโปรแกรมเป็นเครื่องแรกของโลก
3. ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ Hard ware,Soft ware,Data,people
4. ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไรส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร
ตอบ กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตาม ความประสงค์ของผู้ใช้มากที่สุด Input,Output,Central Processing Unit : CPU,Memory,Peripheral Equipment
5. ฮาร์ดแวร์หมายถึงอะไรส่วนประกอบบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร
ตอบ ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่สมารถสัมผัสและจับต้องได้ส่วนประกอบที่ สำคัญ ส่วนประมาลผล ส่วนความจำ อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล
6. ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
ตอบ หน่วยประมวลผลกลาง
7. หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม ( RAM ) และแบบรอม ( ROM ) ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ แบบแรมต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลเป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ เพราะว่าไฟดับข้อมูลที่ถูกเก็บไว้จะถูกลบหายไปแบบรอมไม่ขึ้นกับไฟฟ้าและไม่ สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่ายต้องใช้เทคนิคพิเศษช่วยส่วนใหญ่ใช่ ในการเก็บโปรแกรมควบคุม
8. จานบันทึกข้อมูล ( HARD Disk ) ประกอบด้วยอะไรทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ ประ กอบด้วแผ่นจานแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่นและเครื่องขับจานเป็น ส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีมอร์เตอร์ทำหน้าที่หทุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วความเร็ว สูงมีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆลงบนผิวบนแผ่นดังกล่าว
9. บอกความหมายของคำต่อไปนี้ เมกะไบต์ ( Megabyte ) กิกะไบต์ ( Gigabit ) พิกเซล ( Pixel ) จิกะเฮิร์ซ ( GHz )
ตอบ กิกะไบต์[1][2] หรือ จิกะไบต์[1][2] (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์
จิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ
1 GB = 1,000,000,000 ไบต์ (หนึ่งพันล้านไบต์) ใช้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และในวิศวกรรมสื่อสาร
1 GB = 1,073,741,824 ไบต์ ซึ่งเท่ากับ 10243 หรือ 230 ไบต์ มีใช้ในระบบปฏิบัติการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์
เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างสองความหมายข้างต้น หน่วยงานมาตรฐาน IEC แนะนำให้เรียกปริมาณ 1,073,741,824 ไบต์เป็นชื่อใหม่ว่า จิบิไบต์ หรือ กิบิไบต์ (gibibyte) และใช้ตัวย่อว่า GiB แทน ในขณะที่ปริมาณ 1,000,000,000 ไบต์ยังคงใช้ จิกะไบต์ตามเดิ
เมกะไบต์ ( Megabyte ) เมกะไบต์ (อังกฤษ: megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg
พิกเซล ( Pixel ) ความละเอียดของจุดภาพ จุดภาพ หรือ พิกเซล (อังกฤษ: pixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด) ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้
จิกะเฮิร์ซ ( GHz ) gigahertz (กิกะเฮิร์ตซ์) ตัวย่อ GHz เป็นหน่วยของความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) เท่ากับหนึ่งพันล้านเฮิร์ตซ์ (1,000,000,000 Hz) gigahertz ได้รับการใช้เป็น
ตัวชี้ความถี่ของ ultra-high-frequency (UHF) และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ
(microwave) และรวมถึงในบางคอมพิวเตอร์ ใช้แสดงความเร็วนาฬิกาของไมโครโพรเซสเซอร์
10. จอภาพ แป้นพิมพ์ เมาส์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ จอภาพ แสดงผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์แสดงผลได้ทั้งตัวหนังสือภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
แป้นพิมพ์ รับเข้าข้อมูลจากการกดเพื่อส่งต่อไปไห้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
เมาส์ ใช้ในการควบคุมตัวชี้ที่ปรากฎบนจอภาพเลื่อนไปสู่ตำแหน่งต่างๆที่ต้องการสามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมในการควบคุมคำสั่งก็ได้
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4
1. ซอฟแวร์คืออะไรและทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ ชุดคำสั่งงานของคอมพิวเตอร์อย่างเป็นลำดับขั้นเป็นส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ ได้โดยตรงทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไรและเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ ใช้คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ซอฟแวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ 2 ประเภท ซอฟต์แวร์ระบบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์  ซอฟต์แวร์
3. ซอฟแวร์ระบบคืออะไร
ตอบ คือโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ
4. ซอฟแวร์ประยุกต์คืออะไร
ตอบ เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้เฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการเช่นงานพิมพ์เอกสาร โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์
5. ซอฟแวร์เฉพาะงานคืออะไร
ตอบ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่างเช่นการตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์
6. ซอฟแวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ ซอฟต์แวร์เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้อง การภาษาหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์สำคัญที่ทำให้ คอมพิเตอร์แต่ละเครื่องทำงานแตกต่างกันได้มากมายซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญ แลละจำเป็นของระบคอมพิวเตอร์หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้
7. ซอฟแวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่แปรภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องดัง นั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปรภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให เป็นภาษาเครื่องโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาาาเครื่อง เรียกว่า คอมไพเลอหรืออินเทอร์พีเตอร์
8. ระบบปฎิบัติการคืออะไรทำหน้าที่อะไร
ตอบ เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์เพื่อให้มั่นใจว่า อุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ตแวร์ทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันได้อย่างราบ รื่นและมีประสิทธิภาพทำหน้าที่จัดการข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในเครื่อง คอมพิวเตอร์เช่นการสำเนาข้อมูล การเรียงลำดับ
คำถามท้ายบท  หน่วยที่ 5
1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  การเชื่อมโยงต่อระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและสะดวกในการใช้งานการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์แต่ละตัวที่ใช้ทำงานเข้าหากัน
 2. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไรบ้าง
ตอบ  1. ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่ ให้ประโยชน์ด้านการใช้ข้อมูลร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ข้อมูลในฐานเดียวกันทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันที่สุด 
2. ระบบเรือข่ายอินเตอร์เน็ต ประโยชน์ที่เรานำมาใช้ในปัจจุบัน คือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(e-mail)การค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ การศึกษาแบบ E-Learning การพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ 
3. ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติ การนำระบบนี้มาใช้ถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์

 3. ระบบเครือข่ายเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  เป็นที่นิยมใช้ภายในสำนักงานอาคารเดียวกันและองค์กรที่บริเวณเดียวกันหรือใกล้กัน เป็นเครือข่ายระยะใกล้โดยใช้สายเคเบิล สายโคแอกซ์ สายใยแก้ว
4. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  เป็นระบบใหญ่ที่มีการเชื่อมโยงกันทั่วโลกผลกระทบและผลประโยชน์จึงมีกว้างมาก
5. ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการความหมายว่าอย่างไร
ตอบ  เป็นระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกันเครือข่ายร่วมกัน
6. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ  3 ประเภท คือ 1. เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ 2. เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง 3. เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
7. รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
ตอบ  2 รูปแบบ คือ 1.ฮาร์ดแวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ 2. ซอฟแวร์หรือส่วนจัดการเชิงตรรกะ
คำถามท้ายบท  หน่วยที่ 6
 1. อินเตอร์เน็ตความหมายว่าอย่างไร
ตอบ  เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชี่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันและแลกเปลี่ยนข่าวสาร
กันจะต้องใช้เกณฑ์วิธีหรือโพรโทคอลเดียวกันจึงจะเข้ากันได้
2. จงอธิบายความสำคัญของอินเตอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ  1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล  2.ระบบอินเตอร์เน็ตจะทำหน้าที่เปรีบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่  3.สามารถใช้ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่นๆเพื่อหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้

3. จงบอกประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ  1.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว 
        2. ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้ 
        3.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
        4.สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ 
        5.ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ 
        6.ใช้สื่อสารโดยข้อความตอบโต้กัน
        7.ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
        8.ซื้อขายสินค้าและบริการ
4. การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพผ่านอุปกรณ์ modem หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  อุปกรณ์แปงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์
5. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ  เป็นระบบบริการข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกที่ในโลกซึ่งข้อมูลต่างกัน เช่น เอกสารรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่าย
6. จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ e-mail
ตอบ  สามารถส่งข้อมูลให้กับผู้รับไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลกอย่างรวดเร็วสะดวก
คำถามท้ายบทหน่วยที่ 7
   1. จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
ตอบ  1.อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายสำหรับองค์กรหนึ่งๆ เช่น อินทราเน็ตของบริษัท โตโยต้า จะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลกสามารถดูแลกิจการของสาขาต่างๆให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน
 2. เอกซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายสำหรับองค์กรเช่นเดียวกับอินทราเน็ตแต่เปิดให้สมาชิกภายนอกที่ได้รับอนุญาติเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ด้วย เช่น เครือข่ายบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัดที่มีร้านวัสดุต่างๆเป็นสมาชิกให้ร้านเหล่านี้สามารถติดต่อสั่งซื้อสินค้าและรับบริการอื่นๆผ่านเครือข่ายนี้
 3. อิน เทอร์เน็ต ทั้งอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลโดยมีเจ้าของกำหนดว่า ใครเป็นสมาชิกของเครือข่ายได้แต่อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะไม่มีเจ้า ของทุกคนสามารถเชื่อมต่อได้
 4. รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ เป็นเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต่างกันเพราะฉนั้นการนำเสนอข้อมูลการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจึงแตกต่างกัน
2. อินทราเน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายสำหรับองค์กรหนึ่งๆ เช่น อินทราเน็ตของบริษัท โตโยต้า จะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลกสามารถดูแลกิจการของสาขาต่างๆให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน
3. จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ     http://www.google.com
            http://www.altavista.com
              http://www.excite.com
            http://www.yahoo.com
4. จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ google พอสังเขป
ตอบ ให้พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วกดบนแป้น enter และคลิกที่ปุ่ม go บนหน้าจอ google ก็จะขึ้นเว็บเพจที่ค้นพบ
5. Digital library  (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ การจัดเก็บสารสนเทศในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสิ่งพิมพ์
6.  จงยกตัวอย่างข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ    http://www.school.net.th
 http://www.learn.in.th
คำถามท้ายบท   หน่วยที่ 8
1.ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
1.1 การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ 1.ให้ผู้ฟัง ชม เข้าใจสาระของการนำเสนอ
       2.ให้ผู้ฟัง ชม เกิดความประทับใจซึ่งส่งผลสู่ความเชื่อในผลงานที่นำเสนอ
1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ   1.การดึงดูดความสนใจ
         2.ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
         3.ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ  1.การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม
        2.การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม
1.4  เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ เครื่องมือหลักคือ เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องฉายภาพจากจอคอมพิวเตอร์
1.5  รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. การนำเสนอแบบ slide presentation คือ ใช้โปรแกรม power point  ใช้โปรแกรม proshow gold ใช้โปรแกรม flip album
        2. รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ใช้โปรแกรม authorware  การใช้ระบบจัดการสอนในระบบออนไลน์ moodle

        3. รูปแบบ social network  การใช้เว็บบล็อก (weblog)เพื่อการเรียนการสอน   การนำเสนอแบบ webpage